อำนาจและหน้าที่ของ อบต.
พระราชบัญญัติ สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
บทนิยาม มาตรา 1-6
ส่วนที่ 1 สมาชิกสภาตำบล มาตรา 7-21
ส่วนที่ 2 อำนาจหน้าที่ของสภาตำบล มาตรา 22-28
ส่วนที่ 3 รายได้และรายจ่ายของสภาตำบล มาตรา 29-37
ส่วนที่ 4 การกำกับดูแลสภาตำบล มาตรา 38-44
ส่วนที่ 1 สภาองค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 45-57
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 58-65
ส่วนที่ 3 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 66-73
ส่วนที่ 4 รายได้และรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 74-89
ส่วนที่ 5 การกำกับดูแลองค์การบริหารส่วนตำบล มาตรา 90-92
บทเฉพาะกาล มาตรา 93-95
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล อบต. คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 มีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นโดยราษฎรเลือกตั้งผู้แทนแต่ละหมู่บ้านไปเป็นสมาชิกสภา อบต. มีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้
1. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
2. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้ (มาตรา 67)
– จัดให้มี และ บำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
– รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดิน และ ที่สาธารณะ รวมทั้งกำจัดมูล ฝอยและสิ่งปฏิกูล
– ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
– ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
– ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และ ผู้พิการ
– คุ้มครอง ดูแล และ บำรุงรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
– ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ราชการมอบหมาย โดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ตามความจำเป็นและสมควร
3. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) อาจจัดทำกิจการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดังต่อไปนี้ (มาตรา 68)
– ให้มีน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร
– ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
– ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ
– ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ และสวนสาธารณะ
– ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตร และกิจการสหกรณ์
– ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
– บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
– การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน
– หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบล
– ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
– กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
– การท่องเที่ยว
– การผังเมือง
4. หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวดที่ 2 มาตรา 16 มีอำนาจหน้าที่ในการระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตนเอง ดังนี้
– การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตน
– การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
– การจัดให้มีการควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
– การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
– การสาธารณูปการ
– การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ
– การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
– การส่งเสริมการท่องเที่ยว
– การจัดการศึกษา
– การสังคมสงเคราะห์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
– การบำรุงรักษา ศิลป จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของ ท้องถิ่น
– การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
– การจัดให้มีการบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
– การส่งเสริมการกีฬา
– การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
– ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
– การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
– การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
– การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
– การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
– การควบคุมการสัตว์เลี้ยง
– การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
– การรักษาความปลอดภัย และความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธรณสถาน อื่นๆ
– การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– การผังเมือง
– การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
– การดูแลรักษาที่สาธารณะ
– การควบคุมอาคาร
– การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
– การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุน การป้องกันและรักษา ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
– กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด