ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ ในระดับท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่ง โดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลด ละ กิจกรรมเสี่ยง ได้แก่  การไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ลดภาวะน้ำหนักเกิน เป็นการ “ปรับก่อนป่วย” เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพจึงเน้นให้ “ประชาชนสุขภาพดี เริ่มต้นที่สร้างนำซ่อม” โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Change Agent) โดยมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการเป็น “คู่หูสุขภาพ (Buddy Healthy)” ร่วมรู้สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเบาหวานแลความดันโลหิตสูง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 4 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง หมู่ที่4 บ้านนัดโต๊ะโมง ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2562 ขึ้น โดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือ และเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ป้องกันการเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชน

วัตถุประสงค์โครงการ

- เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรู้วิธีการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น

- เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่กลายเป็นกลุ่มป่วย

320240
320550
320230
320220
320210
320200
320190
320180

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page